Responsive image Responsive image

ศาลานา PGS มาตรฐานของวิถีธรรมชาติที่ทุกคนมีส่วนร่วม

19 มกราคม 2562



ศาลานา PGS มาตรฐานของวิถีธรรมชาติที่ทุกคนมีส่วนร่วม

มาตรฐาน
คือ สิ่งยืนยันและรับรองคุณภาพของสินค้า ของที่ดี จะต้องมีมาตรฐานที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จับต้องได้ ตรวจสอบได้ และได้รับการยอมรับร่วมกัน
แน่นอน ว่าผลผลิตจากเกษตรวิถีธรรมชาติก็เช่นกัน แม้เราจะทำการผลิตแบบ อ้างอิงธรรมชาติ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ต้องมีมาตรฐานก็ได้ เพราะการจะให้คนที่ได้กิน กินอาหารที่เราผลิตอย่างมั่นใจ จะต้องมีมาตรฐานเพื่อยืนยันได้ ว่าของที่เราส่งต่อนั้นมีคุณภาพมากพอ

มาตรฐานต่างกัน แต่วิธีการไม่ต่างกัน

มาตรฐาน คือ สิ่งที่ทุกคนในสังคมนั้น ๆ กำหนดร่วมกัน ความแตกต่างกัน อาจจะมีบ้างในรายละเอียดปลีกย่อย แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ การมีส่วนร่วมในการรับรอง นั่นคือคนในหมู่นั้น จะต้องมีการตกลงร่วมกันว่ามาตรฐานของเราอยู่ตรงจุดไหน และสามารถทำให้คนข้างนอกที่จะซื้อสินค้าของเราสามารถยอมรับและมั่นใจได้อย่างไร ว่านี่คือคุณภาพที่แท้จริง
มาตรฐานเกษตรวิถีธรรมชาติที่เรารู้จักกันดี นั่นก็คือ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม หรือ PGS (Participatory Guarantee System) ที่เป็นมาตรฐานหลักที่เป็นสากลในระดับที่ทุกคนยอมรับและเข้าใจได้ในวงกว้าง เป็นมาตรฐานที่ไม่ใช่เพียงแต่ผู้ปลูกเท่านั้น ที่สามารถตรวจตรวจสอบกันเองได้ แต่ผู้กินก็ต้องมีสิทธิในการรับทราบถึงที่มาที่ไปที่สามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเองด้วย

PGS จากมาตรฐานแบบ “ชุมชนรับรอง” สู่ SALANA PGS มาตรฐานเกษตรวิถีธรรมชาติที่ไว้ใจได้

สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ หรือ IFOAM - Organic International
เป็นผู้ริเริ่มมาตรฐาน PGS นี้ ด้วยความเห็นว่าการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานอิสระจากภายนอกนั้น ไม่เหมาะสมเท่าการตรวจสอบในหมู่ผู้ทำเกษตรวิถีธรรมชาติด้วยกันเอง เพราะการตรวจสอบแบบหน่วยงาน นอกจากยุ่งยาก ซับซ้อน ยังมีค่าใช้จ่ายสูง และยังไม่เปิดโอกาสให้เกษตรกรได้มีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ อีกด้วย การตรวจสอบแบบ “ชุมชนรับรอง” หรือ Participatory Guarantee System (PGS) จึงได้กำเนิดขึ้นมา

สำหรับ ศาลานา ก็ได้ใช้มาตรฐานที่ถือเป็นสากลนี้ ที่ใช้กันในทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังพัฒนา มาใช้ในการรับรองมาตรฐานเช่นกัน เพื่อความมั่นใจว่าเราจะได้ผลผลิตที่เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์แท้จริง ที่ดีทั้งคนปลูก คนกิน และระบบนิเวศทั้งหมด โดยมีการกำหนดมาตรฐานที่สามารถควบคุมได้ภายใต้บรรทัดฐานร่วมกันนั่นเอง
 

SALANA PGS มาตรฐานในนาวิถีธรรมชาติ
 
SALANA PGS หรือการดำเนินการแบบชุมชนรับรองของศาลานา จะเน้นที่การสนับสนุนให้เกษตรกรวิถีธรรมชาติทั้งระบบมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกันเอง เริ่มจากจุดแรกสุดที่เริ่มเรียนรู้และเตรียมเพาะปลูกไปจนการแปรรูปและรับรองคุณภาพ จึงทำให้เกษตรกรทุกคนมั่นใจได้ ว่าจะมีมาตรฐานเดียวกัน และสร้างความสามัคคีเพื่อก้าวหน้าสู่ความเป็นวิถีธรรมชาติที่ได้มาตรฐานอย่างยั่งยืนร่วมกัน
 
ขั้นตอนการจัดการมาตรฐาน SALANA PGS
  • มีกระบวนการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
  • มีการกำหนดรูปแบบและเงื่อนไขการตรวจแปลงร่วมกัน
  • ตั้งคณะกรรมการตรวจและรับรองแปลง
  • ตรวจแปลง 3 ระยะ เตรียมปลูก บำรุง และก่อนเก็บเกี่ยว
  • คณะกรรมการสรุปและแจ้งผลการตรวจแปลง
  • คณะกรรมการตัดสินการรับรอง
  • ออกใบรับรอง 1 รอบอายุการผลิต

นอกจากขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว SALANA PGS ยังมีข้อกำหนดในการตรวจสอบรับรอง และยังมีการลงนามปฏิญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรของเกษตรกรวิถธรรมชาติอีกด้วย
 
เกษตรวิถีธรรมชาติ เริ่มได้ที่ “ใจ” เริ่มได้ “ทันใด” ไม่ต้องรีรอ…เริ่มต้นเกษตรดี ๆ เพื่อชีวิตดี ๆ ได้ที่ ศาลานา
 
ข้อมูลจาก
http://www.greennet.or.th/article/1138
แผ่นพับโครงการศาลานา (สำนักงานชั่วคราว)



เรื่องที่น่าสนใจ

ข้าวที่เรากินอยู่ทุกวันคือพืชที่มีชีวิต แม้แต่หลังเก็บเกี่ยวแล้ว เมล็ดข้าวก็ยังเปลี่ยนแปลงตามเวลา นั่นทำให้เส้นทางของข้าวตั้งแต่นาสู่จานมีจังหวะเวลาเฉพาะตัวที่สัมพันธ์กับฤดูกาล

เกรท-เสกสรร รวยภิรมย์ คือ CEO Director ของ Broccoli Revolution ร้านมังสวิรัตที่เปิดมาแล้วเกือบ 7 ปี

รศ. ดร. ประภาส ปิ่นตบแต่ง นักวิชาการรัฐศาสตร์ผู้ชี้ (และทำ) ให้เห็นว่าทางรอดของชาวนาไทยคือการปลูกข้าวอินทรีย์ที่ปรึกษาโครงการศาลานา นักวิชาการรัฐศาสตร์ และชาวนาผู้ขับเคลื่อนคุณค่าของข้าวอินทรีย์

ทำไมข้าวหอมมะลิ 105 อินทรีย์ ถึงน่าอุดหนุน

เราได้ยินคำว่าสังคมผู้สูงอายุกันมาหลายปี พอจะรู้อยู่บ้าง ว่าบ้านเราเริ่มมีประชากรสูงวัยมากขึ้นกว่าเก่า แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทันได้ตั้งตัว