Responsive image Responsive image

เครือข่ายเกษตรวิถีธรรมชาติ ความสามัคคี สู่ความสำเร็จร่วมกัน

11 มีนาคม 2562



เครือข่ายเกษตรวิถีธรรมชาติ ความสามัคคี สู่ความสำเร็จร่วมกัน

“มนุษย์เป็นสัตว์สังคม”
นี่เป็นคำกล่าวที่เป็นความจริงอย่างยิ่ง เพราะเราเกิดมาเราไม่ได้อยู่คนเดียวในสังคม เราจำเป็นต้องมีครอบครัว มีญาติพี่น้องเพื่อนฝูง และที่สำคัญ เราต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนโดยรอบ ทั้งในเชิงส่วนตัวและในเชิงการใช้ชีวิตด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะในการทำงาน ไม่มีใครที่สามารถทำงานได้เพียง ‘ลำพัง’ เพราะฉะนั้น ความเป็น ‘กลุ่มก้อน’ จึงมีความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์

การทำ เกษตรวิถีธรรมชาติ ก็เช่นกัน การเรียนรู้จะต้องอาศัยกระบวนการในการถ่ายทอด ความสัมพันธ์จึงเริ่มจากระดับต้น แต่การเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ เราไม่สามารถเรียนรู้ได้จากคนคนเดียว การเรียนรู้ร่วมกันจึงต้องมรการแลกเปลี่ยนความรู้จากคนหลายคน ความสัมพันธ์จึงเป็นไปในรูปแบบของ ‘เครือข่าย’ ขึ้นมา


 

เริ่มจากการเรียนรู้ สู่การร่วมมือทำ กำหนดจุดมุ่งหมายร่วมกัน
 
การจะเริ่มสร้างเครือข่ายเกษตรวิถีธรรมชาติ ก็เป็นเช่นเดียวกับการสร้างเครือข่ายทั่ว ๆ ไป ที่เน้นการรวมตัวของคนที่มีความสนใจในสิ่งเดียวกัน ตัวอย่างที่สามารถเห็นได้ คือ การทำเกษตรวิถีธรรมชาติของปะกาเกอะญอ ใน ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ที่เริ่มจากการเรียนรู้เกษตรวิถีธรรมชาติ การศึกษาดูงาน การรวมกลุ่มอบรม การดูงานในสถานที่ต่าง ๆ กลายเป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกัน ไปสู่การมีความคิดและเป้าหมายแบบเดียวกันในที่สุด
เมื่อมีเป้าหมายร่วมกันแล้ว ระดับต่อไปก็จะเริ่มเข้าสู่ ‘การสร้างกลุ่มเพื่อยกระดับผลผลิต’ จึงกลายเป็นการกำเนิดของ ‘วิสาหกิจชุมชน’ ซึ่งวิสาหกิจชุมชนนี้ จะทำงานร่วมกันกับกลุ่มอื่น ๆ กลายเป็น ‘กลุ่มเครือข่าย’ ที่เราสามารถพบเห็นได้ในทุกพื้นที่ ทุกชุมชน โดยในเครือข่ายในระดับนี้ ส่วนใหญ่มักมีวัตถุประสงค์คล้ายกัน คือ
  • เป็นที่ปรึกษา หาทางออกในเรื่องของปัญหาและประเด็นต่าง ๆ ร่วมกัน
  • เป็นแหล่งเรียนรู้ แลกเปลี่ยน และพัฒนาผลผลิตในพื้นที่
  • เพื่อทำการค้าระหว่างชุมชนและบุคคลหรือชุมชนอื่น ๆ ภายนอก และระหว่างกลุ่มชุมชนด้วยกันเอง
  • เพื่อต่อรอง และขอรับการสนุบสนุนจากองค์กรภาครัฐ
เครือข่ายแข็งแรง มุ่งสู่มาตรฐานสากล
 
เมื่อมีการรวมตัวจนเกิดเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นในขั้นต่อไปของเครือข่ายเกษตรวิถีธรรมชาติ คือการกำหนดมาตรฐาน ซึ่งเมื่อมีความรู้จากการเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาผลผลิตแล้ว การทำให้สังคมภายนอกยอมรับ จึงเป็นเรื่องท้าทายความสามารถและความสามัคคีของเครือข่าย การกำหนดมาตรฐานร่วมกัน จึงเป็นสิ่งที่กำเนิดตามมา โดยทุกคนในเครือข่ายจะต้องมีส่วนร่วมในการรับรองร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในเครือข่ายจะต้องมีการตกลงร่วมกันว่ามาตรฐานของเราอยู่ตรงจุดไหน และสามารถทำให้คนข้างนอกที่จะซื้อสินค้าของเราสามารถยอมรับและมั่นใจได้อย่างไร ว่านี่คือคุณภาพที่แท้จริง
 
มาตรฐานเกษตรวิถีธรรมชาติที่เรารู้จักกันดี นั่นก็คือ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม หรือ PGS (Participatory Guarantee System) ที่เป็นมาตรฐานหลักที่เป็นสากลในระดับที่ทุกคนยอมรับและเข้าใจได้ในวงกว้าง ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เราจะได้กล่าวถึงในลำดับต่อไป
 
ข้อมูลจาก
เอกสารการตรวจโภชนาการข้าวโครงการศาลานา



เรื่องที่น่าสนใจ

เคยเป็นเหมือนกันไหม จะหุงข้าวแต่ละทีแล้วไม่มั่นใจ ควรใส่น้ำแค่ไหน และใช้อะไรเป็นตัววัด ถึงจะได้ข้าวนุ่มสวยพร้อมกิน

เกมทดสอบความจำวัยเก๋า

เข้าใจความเชื่อเรื่องแม่โพสพที่เชื่อมโยงกับจานข้าวและเราคนกิน

เราได้ยินคำว่าสังคมผู้สูงอายุกันมาหลายปี พอจะรู้อยู่บ้าง ว่าบ้านเราเริ่มมีประชากรสูงวัยมากขึ้นกว่าเก่า แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทันได้ตั้งตัว

“จงใช้อาหารเป็นยารักษาโรค” คือปรัชญาในการรักษาโรคที่ฮิปโปเครติส บิดาทางการแพทย์ของชาวกรีกกล่าวไว้มานานกว่า 2500 ปี